Tales of Praya Prab Moutain
Interview book,
Interview book, Thai text version
Black-and-White offset print
183 pages, 12.5 x 19 x 1.5 cm., 1,000 copies
The interview book of people who lived around Praya Prab mountain, a landmark of the farm’s location.. The story telling is like an evidence of the past, a secret to be told, showing the way of life, it is also used as a hidden teaching of past beliefs. By an oral history process, recording and transcription with documentary photographs.
The research base project from June - December 2010
Art on Farm, 2010
Jim Thompson’s artists-in-residence program, Korat
Curator: Gridtiya Gaweewong, Somsuda Piamsumrit and Yuwadee Srihuayyod
Jim Thomson farm, located at Pakthongchai district of Nakorn Ratchasima province a city in the northeast (Isan) of Thailand and gateway to Isan. Nakorn Ratchasima city is also commonly known as Korat (RTGS Khorat, โคราช), It is located at the western edge of the Khorat Plateau and historically marked the boundary between the Lao and Siamese territory, however now is considered a gateway to the Northeast.
Jim Thompson was an American businessman who helped revitalize the Thai silk industry in the 1950s and 1960s. after Thompson’s disappearance that the Thai Silk Company relocated its weaving operations to Korat, a city which serves as a base of operations for the Royal Thai Army. Although it abandoned home-based weaving in favor of factories in the early 1970s, the Thai Silk Company’s Korat facility looks more like a landscaped campus than a factory.
The Art on Farm projects at the Jim Thompson Farm began with the collaboration of the Jim Thompson Art Center in Bangkok and the Jim Thompson Farm in Korat. By inviting and open call for artists to produce works in the context of Eco Agriculture and North Eastern style architecture, giving the artists the opportunity to interrelate between art and the environment. The artists were encouraged to work with nature, local artifacts and recycled materials, they were inspired by being on the farm also by the communities around them such as their history, myths and legends, the landscape and customs, even the food and meals. How the way of life has changed from the past to present also resulted in all the artworks reflecting and transmitting this culture.




๒๕๕๓
เคยมีอะไรบางอย่างอยู่ที่ภูเขานั่น
วิญญาณศักดิ์สิทธิ์จากบรรพกาล
รอยพระบาทพระสัมมาสัมพุทธะ
เรื่องราววีรบุรุษ ผู้ปราบศึก
เมืองอันรุ่งเรืองเร้นอยู่ที่นั่น
คนเฒ่าเก่าก่อนยำเกรงนัก
หลายวันก่อน คนหนุ่มสาว เดินทางจากเมือง
เดินไถ่ถามตามบ้าน เพื่อค้นหาเรื่องราวเก่าๆ
ขออนุญาตสอบถาม บันทึกภาพและเสียงเอาไว้
ผู้คนพลางนึกถึงความทรงจำเก่า เรื่องที่เคยได้ยิน
บ้างแนะนำให้ไปถามผู้เฒ่าผู้แก่
หลายคนเชื่อมั่น มีความศักดิ์สิทธิ์บางอย่างอยู่ที่นั่น
บางคนว่าเป็นแค่เรื่องเล่าเก่า ในยุคก่อน
ก่อน จะมีผู้ใหญ่บ้าน ก่อน จะมีการเลือกตั้ง
ก่อน จะมีคํ่าคืนสว่างไสวจากแสงหลอดไฟฟ้า
ก่อน กาลเวลา
วันนี้ฉันได้อ่านข้อมูลเรื่องราวเหล่านั้น
ส่งไฟล์มาทางอีเมล์
อ่านไป รู้สึกขบขัน เมื่อนึกถึงมิตรสหายออกไปเดินคุยกับชาวบ้าน
หลายชั่วโมงกับการอ่าน ภาพของผู้คนหมู่บ้านชัดเจนขึ้น
ฉันเปิด Google ค้นหาข้อมูลอื่นๆ ได้ข้อมูลเพิ่มเติมอีกเล็กน้อย
ไม่ต่างกันนักกับที่เกิดบ้านฉัน
เมื่อคิดได้ มีความรู้สึก ไม่สบายใจ
ทำให้ นึกถึงอดีตในวัยเด็ก
ตึกโรงเรียนสร้างเสร็จใหม่ๆ
บนห้องป.4 ชั้น 3 เราอยู่สูงกว่าใคร
บนนั้น ทั้งหมดเปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง
ภูเขา ป่า และหมู่บ้านเหล่านั้น ที่มองเห็นเบื้องล่าง
ไม่รู้จักชื่อ ลึกลับ แสนเชิญชวนให้สำรวจ
ฉันกับเพื่อนนั่งตรงนั้น
นั่งตรงนั้น ทุกวัน วาดฝัน สัญญากันว่าวันหนึ่งจะออกไปดู
เหมือนกันกับเพื่อนๆ
ฉันเดินทางเข้ากรุง ไขว่คว้าหาฝัน
อาชีพ รายได้ ชื่อเสียง และอื่นๆ
สร้างเนื้อสร้างตัว
สร้างแบบอย่างชีวิต
แต่งกาย อาหาร การจับจ่าย สถานที่ที่ไป
ให้ดูดีในที่สาธารณะ และดู Cool บน Network
แสดงตน Up load ทุกประสบการณ์
ประกาศทุกเรื่องของชีวิต แต่ยึดถือความเป็นส่วนตัว
และไม่ชอบให้ใครมาวุ่นวายกับชีวิต
เพราะฉันได้ค้นหาตัวเองจากแมกกาซีนเรียบร้อยแล้ว
โดยเฉพาะคอลัมน์ “คุณคือคนแบบไหน” ที่ฉันได้กากบาท
ตอบคำถาม
ด้วยศิลปะ การเผยร่าง และพรางกาย
ฉันน่าจะดำเนินชีวิตไป ราบรื่น
วันหนึ่ง รู้ตัวว่า ฉันแค่นหัวเราะ คุยแกนๆ และยิ้มเจื่อนๆ มากเกินไป
ไม่อยากจะเป็น Nobody ของสังคมเมือง
แต่เหน็ดเหนื่อยเหลือเกินกับการเป็น Somebody
เข้าใจว่า Identity ที่เราสร้าง นั้นไม่เคยทำเสร็จ
วันนี้ฉันกลับมาที่บ้านเก่าอีกครั้ง
หลังจากเข้าใจอะไรบางอย่าง
ตึกเรียนหลังนั้นก็ไม่สูงเท่าไร ภูเขายังอยู่เหมือนเดิม
มีอ่างเก็บนํ้าสร้างบนนั้นหลังจากดินถล่มทับทั้งหมู่บ้าน
สิ่งต่างๆ เปลี่ยนไป
มีร้านกาแฟขายคาปูชิโน่
ที่ฉันไปนั่งอ่านข้อมูล ของเพื่อนที่ออกไปเดินคุยกับชาวบ้าน
รู้สึกขบขัน เพื่อนๆ ทําอะไรเชยๆ อย่างนั้น
เหมือนนักศึกษาทำวิทยานิพนธ์ ศิลปินทำตัวเป็นนักวิชาการ
แต่อ่านไปความหมายอื่นๆ ปรากฏ
ความทรงจำหรืออะไรบางอย่าง
เราเคยมี เราเคยรู้ เราเคยสัมผัสได้ ที่เราเคยเชื่อ
แต่ไม่รู้ว่าหายไปเมื่อไร
ภูเขายังอยู่ตรงนั้น
ไม่มีอะไรลึกลับ
Google Earth, Gps เปิดเผยโลกจะแจ้ง
ด้วยภาพถ่ายดาวเทียมขยาย 1,000 เท่า
ผ่าน Web cam ทั่วทั้งโลกเคลื่อนไหว ให้ดู สด Real time ตามจริง
เมืองลับแล แดนสนธยา สู่ Unseen Thailand
เรื่องเล่าและตำ•นานเป็นเพียงนิทาน
วัฒนธรรมท้องถิ่น เป็นแหล่งข้อมูลของนักวิจัย และการท่องเที่ยว
ดินแดน ซ่อนเร้น สูญหาย
ปรากฏวาระซ่อนเร้น ในคลื่นสัญญาณ ทั้งในสาย ในท่อ ในอากาศ และอวกาศ
ส่งมาให้ รู้ เห็น อ่าน ฟัง บันเทิงใจ
ดอกจานดาวเทียมจึงเบ่งบานในบ้านทุ่ง อบต. ทุกแห่งมุ่งพัฒนา
ต่างขายที่ขายนา ส่งลูกเรียน
หนุ่มสาว ทยอยเข้ากรุง ป.ว.ช ถึง ป.ตรี เพื่อ โรงงาน P.C. Sale และ Pr
คนเฒ่า เฝ้าหน้าจอโทรทัศน์ ตามติดการปลุกระดม ทุกลมหายใจ
ทุกพื้นที่ทั่วหัวระแหง มีเจ้าของรับรองสิทธิ
ไร้แดนรกร้างผู้คน แดนดิบไพรเถื่อนอุทยานเขต
แดนสวรรค์ ลับแลลอยเลื่อน
เหลือ ความจริง ของภาพฝันฮอลลีวูด
ในยุคสมัยจิตวิญญาณสูญหาย
เช้านี้ฉันขับรถมุ่งตรงไปยังภูเขา
เข้าไปได้ใกล้ที่สุด ด้วยทางดิน
ออกเดินด้วยเท้า บนทางชัน เหงื่อเปียกหลัง
บอกตัวเองว่า “นี่ไง พันธสัญญา ที่แกทำ•ไว้”
แล้วเงยหน้ามองฟ้า ที่เริ่มจะครึ้ม
เสียง เพลง ดังลั่น กระหึ่มจากยอดเขา
ฟังไม่ได้ศัพท์
นอกจาก ....ชิมิ.... ชิมิ
เบื้องหน้าคือภูเขา
ภูเขายังอยู่ตรงนั้น
มีบางอย่างเคยอยู่ตรงนั้น
ที่หายไปจากความทรงจำ
ที่หายไปไม่มีในปัจจุปัน
มีบางอย่าง เคยอยู่ ตรงนั้น …… และเราต่างรู้กัน
เอิร์ธ
วันศุกร์ที่ 11 เดือนมิถุนายน ปีพ.ศ. 2553
หมู่บ้านตะขบ หน้าร้านตัดผมชาย
ช่างตัดผม : แต่บริแวกนั่นมันหมายถึงว่าจ้าวเขาพญาปราบ เขาเรียกว่าหนึ่ง มีเจ้าของที่เค้าคุมคนใหญ่อยู่นั่น เค้าเรียกว่า พ่อใหญ่หลวงทิศ ขุนวังเก่า เค้าเรียกขุนเก่าขุนแก่ ถ้าคนใหญ่จริงๆ เค้าเรียกว่าขุนสะท้าน หลวงราษฎร์ นี่แหละ ก็ติดตามกันมาเรื่อยๆ ก็ที่เล่าขานกัน ก็ได้อ่านนี่ก็จะเป็นของพ่อใหญ่หลวงรามขุนหลวงราม อืม...เจ้าอ่านดู อ่านดู มันมีของโบรํ่าโบราณแต่ก่อนมันยังมี เค้าเรียกว่า เขาลับแลแหละ เขาลับแล โบราณเขาพูดมานะรอบนี้มีอยู่ในกลางเขานี่ เขาลับแล........
วันศุกร์ ที่ 11 เดือนมิถุนายน ปีพ.ศ. 2553
ฟาร์มจิม ทอมป์สัน เรือนเพาะพันธ์ุไม้ดอกไม้ประดับ
พนักงานจิม ทอมป์สัน
พนักงานหญิง : มันจะเป็นแบบเค้าสื่อสารกับคนโบราณได้น่ะ มันเป็นตามเชื้อสายเค้าน่ะแหละ แล้วถ้ามันเปิดให้เข้าเค้าจะมาเข้าฝัน ให้เข้าไปเอาของเก่าน่ะ แต่จะเข้าไปได้แค่คนที่เค้ากำหนด คนที่ไม่ถูกกำหนดจะเข้าไปไม่ได้ ต้องรออยู่ข้างนอก
ทีมงาน : ถํ้านี้อยู่ตรง...
พนักงานหญิง : ในเขาพญาปราบ
ทีมงาน : แต่ไม่ได้อยู่ข้างบน?
พนักงานหญิง : อันนี้เป็นถํ้าข้างล่าง
ทีมงาน : มีถํ้าสองแห่ง?
พนักงานหญิง : แล้วมีอีกทีมนึงที่เค้ารู้จักข้างบน ข้างบนก็เหมือนกัน มีปิดเปิดเป็นเวลาเหมือนกัน
ทีมงาน : เป็นเวลานี้คืออยู่ที่เค้าจะให้เข้าหรือไม่ให้เข้า
พนักงานหญิง : ใช่ เหมือนกับเชื้อสายเค้านั้นแหละ เหมือนสืบทอดกันมา
ทีมงาน : เมื่อกี้คุยกับพี่อีกคนเค้าว่าข้างในมีพวกเพชรนิลจินดา
พนักงานหญิง : คนโบราณเค้าก็คุยว่ามีอย่างนั้นแหละ แล้วก็จะมีที่เค้าเอามาแต่งตัว เวลางาน เราไปยืมเอามาแต่งน่ะ (พนักงานหญิงอีกคนเสริมว่า นางสงกรานต์ แต่ต้องเอาไปคืนนะ)
ทีมงาน : แต่งเสร็จแล้วต้องเอาไปคืน
พนักงานหญิง : ถ้าไม่คืนตามเวลาถํ้าปิดถาวร โดยที่ไม่มีใครรู้ แต่ถ้าเปิดนี่คือเข้าได้ ส่วนข้างล่างเกือบๆ จะตีนเขานี่คือมีช่องลอดเข้าไปได้ เหมือนว่าต้องคลานเข้าไปแล้วสักพักจะเดินได้ คือมีความแปลกของมัน เป็นช่องลับ แล้วจะมีต้นไม้ ต้นอะไรไม่รู้ต้นใหญ่ๆ อยู่ข้างหน้าเป็นสัญลักษณ์ของเค้า เค้าจะรู้กันเอง เค้าบอกเวลาเข้าตอนแรกเค้าบอกต้องคลาน เข้าไปแล้วถึงเดินได้ ถ้าคนที่ไม่ใช่ครอบครัวเข้าไม่ได้
ทีมงาน : แล้วพี่เคยได้ยินเรื่องเล่าสมัยก่อนมั้ย มีพระยาอย่างนี้เหรอครับ
ทำไมเค้าถึงเรียกเขาพญาปราบ
พนักงานหญิง : ที่เป็นตำนานมาเค้าว่ารบชนะเหรอ มันเป็นตำนานที่ตอน ที่เคยอ่านนั่นน่ะ คือแถวๆ เรามันจะมีพวกโจร พวกขโมยอะไร ที่มาขโมยพวกวัวควายพ่อค้าอะไรนั่นน่ะ แล้วทีนี้มันดังไง มันดังไปจน ดังจนใครต่อใครก็ปราบไม่ได้ แล้วจะมีท่านพระยาที่มานี่ก็เป็นคนที่ปราบได้ ข้างบนนี่ต้อนขึ้นไปจนมุมข้างบนภูเขา ก็เลยเป็นชื่อมา แต่เรื่องความลี้ลับอะไรมันเป็นไปตามเชื้อสายเค้าเฉยๆ มันจะยังอยู่หรือเปล่าก็ไม่รู้นะที่ว่าถํ้าข้างล่าง ที่เค้าว่าอะไรนะ หินเต้านม พี่เคยรู้จักบ่ (ถามพนักงานอีกคน) หินเต้านม เป็นของเก่า แต่ที่บ้านเค้า ตอนที่รู้จักนี่ยังมีอยู่นะ ไม่แน่ใจว่าเค้าจะปล่อยไปหมดมั้ย
ทีมงาน : เป็นของเก่าที่บ้านเค้ามี?
พนักงานหญิง : นั่นแหละ เค้าเอามาจากถํ้า
พนักงานชาย : เป็นเรื่องลี้ลับของคนชอบเรื่องลี้ลับ
พนักงานหญิง : ก็ใช่
พนักงานชาย : แล้วแต่เชื่อ แต่ผมเฉยๆ
ทีมงาน : แล้วเขาพญาปราบนี่ยังขึ้นไปได้อยู่ไหมครับ
พนักงานชาย : ขึ้นไปได้ ปกติ ถํ้าก็อยู่ตรงนั้น
ทีมงาน : มีวัดด้วยใช่มั้ยครับ แล้วเค้าขึ้นยังไงครับ
พนักงานชาย : เดินขึ้นเฉยๆ
ทีมงาน : จากตรงฟาร์มก็ขึ้นได้ใช่มั้ยครับ
พนักงานชาย : ได้
พนักงานชาย : ก็ทางเขาธรรมดา ตรงไหนเป็นช่องก็เดินขึ้นตรงนั้นแหละ
ทีมงาน : ถึงวัดเลยหรือเปล่าพี่
พนักงานชาย : วัดมันอยู่ซีกโน้น
พนักงานหญิง : วัดเป็นวัดมาตั้งใหม่ ไม่ใช่วัดเก่าแก่ ถ้าสำนักสงฆ์จะเป็นอันดั้งเดิม
พนักงานชาย : ที่เห็นเจดีย์อยู่ข้างบนน่ะเหรอ
พนักงานหญิง : นั่นแหละวัดเก่าแก่ แต่จะเข้าตรงบ้านหัวเขา มีหมู่บ้านอยู่ตีนเขาวัดอยู่บนเขา ที่เขาเขียนว่าบ้านเขาพญาปราบนั่นแน่ะ เข้าไป
ทีมงาน : แต่ไม่ได้อันตรายอะไรใช่มั้ยครับ
พนักงานหญิง : ก็ไม่ได้ยินว่ามันสัตว์อะไรแปลกปลอม ก็มีแต่ลิงน่ะแหละ ถ้าเห็นก็เห็นเป็นฝูง ประมาณร้อยกว่าตัว ที่เห็นก็มีแค่นั้น
ทีมงาน : แต่ก็ไม่ได้มาวุ่นวายกับคนใช่มั้ยครับ
พนักงานหญิง : บางทีก็ลงมา (เสียงดัง) แต่อยู่กับคนเราไม่ดุ (หัวเราะ) ตอนนี้ฝูงไม่ใหญ่ เมื่อสองสามปีที่แล้วเห็นมันลงมาเป็นร้อย หัวหน้าฝูง ตัวใหญ่เบ้อเริ่ม (ชาวบ้านผู้หญิงอีกคนเสริม : มีเขี้ยวด้วย ถ้าหัวหน้าไม่นำก็ไม่กล้ามานะ) มันจะลงมากินน้ำกับสระ พอมันจะถอยก็บอกให้ลูกทีมมันทำทืบข้างหน้ามัน ตืบ ตืบ ตื้บ แล้วพวกมันก็ค่อยๆ ถอยๆๆ เอาขาหน้ากระแทกพื้น พวกตัวข้างหลังก็ถอยเข้าป่า ถอยเข้าป่าไป แต่ตัวเค้าไม่ถอยน้า ตัวเค้ายังรอจนตัวเล็กถอยหมดเค้าถึงถอย
ทีมงาน : เมื่อกี๊พี่ว่าแถบนี้เป็นเขตเมืองเก่าหรือครับ
พนักงานชาย : มันไม่ได้ว่าเป็นเมืองเก่า เค้าเรียกเป็นเส้นวัฒนธรรม ตามสายลำพระเพลิงเนี่ย วิถีชีวิตคนตามสาย ลำพระเพลิง คือตั้งแต่ยุคที่เค้ามีการรบ....
ทีมงาน : สงครามโลก?
พนักงานชาย : ไม่ ก่อนนั้นอีก ตั้งแต่สมัยอยุธยาโน่น มันจะมีการปราบลาว ปราบอะไรเนี่ย ประวัติศาสตร์ตรงนั้นแหละ แล้วก็หมู่บ้านที่เกิดขึ้นในเขตนี้ วัฒนธรรมการสร้างบ้านมันก็มาจากภาคกลางทั้งนั้นแนะ บ้านอีสาน ที่คุณเห็นนี่สร้างมาร้อยกว่าปีที่แล้ว เป็นช่างมาจากภาคกลาง
ทีมงาน : แล้วบ้านลักษณะนี้ปัจจุบันก็ยังมีอยู่ตามหมู่บ้านต่างๆ
พนักงานชาย : ยังหาดูได้เยอะอยู่ สายเขื่อนลำพระเพลิงนะลงไป ลำนํ้าลำพระเพลิงลงไปจนถึงบ้านนกออกนู้น ถึงบ้านสระน้อย บ้านพลับพลา อำเภอโชคชัยนู้นแหละ มันจะเป็นเส้นสายทางนี้แหละ วัฒนธรรมทางนี้แหละ คนที่ออกมาจากกรุงเทพฯ มอญยังมีเลย มอญที่มาจากภาคกลางนี่แหละ ขึ้นมาจากยุคนั้นแหละ
พนักงานหญิง: บ้านพระเพลิงมีแต่มอญทั้งนั้น
ทีมงาน : ก่อนหน้านี้เค้าก็มียุคปราบปราม แล้วก็มียุคสงครามโลกครั้งที่สอง
พนักงานชาย : ผมเคยอ่านประวัติโคราช มันมีเล่มเบ้อเร้อเบ้อร่า ในนั้นมีรายละเอียดอยู่ ชนเผ่าโคราชที่แท้จริงเป็นยังไง ชนเผ่าที่มาจากทางลาวแล้วก็ชะบน บ้านกลางนี่ เนี่ยๆๆ ที่ว่าเข้าถํ้าได้ แต่ภาษาชะบนนี่ฟังไม่รู้เรื่องนะ
ทีมงาน : มาจากเชื้อสายไหนครับ
พนักงานชาย : ก็อยู่เขตนี้แหละ
พนักงานหญิง: ชะบนก็คือชะบน
พนักงานชาย : มีคนลาว คนมอญ ชะบน โคราช คนโคราชนี่ก็เชื้อสายพิมาย นั่นแหละ หลักๆ จริงคนโคราชก็เชื้อสายพิมายนี่แหละ ตั้งแต่สมัยย่าโมโน่นแหละ
ทีมงาน : เห็นเค้าว่าบนเขาพญาปราบมีรอยพระพุทธบาทเหรอครับ
(เสียงแทรก : ตอนที่เป็นเด็กน้อย ก็เคยได้ยินเค้าจัดงานพระพุทธบาทรอยพระบาทนี่แหละ ก็ได้ยินเค้าพูดกันไปเที่ยวงานพระบาทอยู่)
พนักงานหญิง: ก็ได้ยินเค้าพูดกัน มีรอยพระพุทธบาทอยู่ แต่ไม่เคยขึ้นไปตรงเจดีย์โน่นแหละ
พนักงานชาย : อ๋อ เป็นเจดีย์ครอบพระพุทธบาทไว้? ผมก็ไม่รู้นะตรงนั้น
ทีมงาน : คือผมก็กำลังรีเสิร์ชเรื่องประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ความเป็นมาเรื่องตำนาน เรื่องลึกลับ คือถ้ามีมันก็สนุก แต่พี่ไม่ค่อยเชื่อใช่มั้ย
พนักงานชาย : ผมมันคนรุ่นหลังแล้ว ก็ไม่ค่อย... คือไม่ใช่ไม่เชื่อหรอกแต่ฟังแล้วก็เฉยๆ เอาเป็นว่าผมคิดถึงเรื่องปัจจุบัน แต่ก็ไปไหว้พระปกติ ก็ออกในเชิงหัวแข็งหน่อยนึง ดื้อๆ หน่อยนึง ไม่ค่อยสนใจ คือคิดแต่ว่าทำเอา
ทีมงาน : คนโบราณเหมือนเค้าฟังจากรุ่นพ่อแม่ปู่ย่า
พนักงานหญิง : ยายคนนึงแกก็ว่าแกเคยไปเอาอยู่นะ ตั้งแต่แกเป็นสาว แกว่าแกเคยมาเอานะ เอาไปแต่งเแล้วก็เอาไปเก็บไว้ แม่ใหญ่น้อยนั่นน่ะ บ้านอยู่หน้าวัดโน่นแหละ
พนักงานชาย : แม่ย่าของคนชื่อน้อยใช่มั้ย
พนักงานหญิง : ชื่อแหวน เค้าว่าเค้าเคยเอาไปแต่งงานสงกรานต์ แต่ว่าคู่กันแกตายไปแล้วแม่ใหญ่หมู่นั่นน่ะ แกเล่าให้ฟังตอนเด็กๆ เค้าเอาไปแต่งฟ้อนรำนั่นน่ะ พอเสร็จสงกรานต์เค้าก็เอาไปเก็บ อยู่ไปอยู่มามีคนหัวแข็ง (หัวเราะ)
พนักงานชาย : เค้าเรียกขี้โกง
พนักงานหญิง : เออ คือว่าอยากได้ ก็ไปเอา แล้วไม่คืน ถํ้าก็ปิด ถ้างั้นเอ็งก็จะได้เห็นอยู่เด๊ะเนาะ (หัวเราะ)
คนแก่ๆ บ้านกลางยังมีอีกหลายคน
พนักงานชาย : ส่วนใหญ่จะได้ยินมา ไม่ใช่เรารู้จริง ต้องไปถามจากคนแก่จริงๆ มันค่อยน่าคิด
วันจันทร์ที่ 5 เดือนกรกฎาคม ปีพ.ศ. 2553
หมู่บ้านเขาพญาปราบ หน้าบ้านลุงเที่ยง
ลุงเที่ยง ชะสังวาลย์
คุณงามความดีนี่แหละ คนเรานี่จะอยู่ตรงไหนก็ตาม จะเข้าสังคมยังไงก็ตาม ยึดถือความถูกต้อง เกื้อกูลกัน เห็นใจเค้าเห็นใจเรา พี่น้องเพื่อนบ้าน เราอยู่บ้านนอกนี่ไม่เหมือนอยู่ในตลาด อยู่บ้านนอกบ้านติดๆ กัน มีอะไรก็ช่วยเหลือกัน ไม่ว่าการเจ็บไข้ได้ป่วย ก็ต้องดูกัน เยี่ยมยามถามข่าวกัน ถ้าอยู่ในตลาดนี่ห้องแถวติดกันก็ไม่รู้จักกันนะ ต่างคนต่างอยู่ แต่อยู่บ้านนอก ก็ต้องยึดหลักความถูกต้องยึดหลักความสามัคคีกลมเกลียว เปิดใจกว้าง โอบอ้อมอารีย์ อยู่บ้านนอกถ้าเห็นแก่ตัวอยู่ไม่ได้ ถ้าเข้าไปอยู่ในตลาดนี่ก็อย่างหนึ่ง การทำมาหากินการอะไร ความเจริญในสังคม ใครจะมีเงินมีทอง อยู่บ้านนอก ถ้าไม่มีการถ้อยทีถ้อยอาศัยกันนี่ ถึงเวลาทุกข์มานี่ลำบากนะ ถึงมีเงินช่วย ตัวเองไม่ได้ ยาก
วันพุธที่ 17 พฤศจิกายน ปีพ.ศ. 2553
หน้าบ้านพี่กิ่ง หมู่บ้านเขาพญาปราบ ตำบลตะขบ
พี่กิ่ง แสงฉิมพลี
ทีมงาน : อยากรบกวนพี่กิ่งช่วยเล่าเรื่องนํ้าท่วมเดือนตุลาครับ
พี่กิ่ง : นํ้ามันท่วมปากกระโถน ฝนมันตกแรง ตกต่อเนื่องกันหลายวัน รอบแรกมาวันที่สี่ ตุลาคม ก็ยังไม่ค่อยมากเท่าไหร่ ล้นปากกระโถน ประมาณสามสิบกว่าเซ็นต์ ชุดสองมาวันที่สิบห้า สิบหก ตกแรงคราวนี้ ท่วมลงไปนู้นเลย ปากกระโถนที่อ่างลำสำลายล้นประมาณแปดสิบเซ็นต์ เขื่อนลำพระเพลิงสามเมตร ที่ทำให้นำ้ไปท่วมทางใต้ พื้นที่ทางเขาพญาปราบ ผลกระทบนี่ก็พวกที่นาที่สวนนี่ไปครึ่งหนึ่ง แต่หมู่สิบสองที่อยู่ฝากนู้นไปร้อยเปอร์เซ็นต์
ทีมงาน : หมู่สิบสองนี่คือด้านไหนครับ
พี่กิ่ง : ฝากโน้น ตรงนี้หัวเขา แล้วก็เขาอีกลูกหนึ่ง อยู่อีกฝั่งหนึ่ง มันจะเป็นเขาสองลูก คนละข้าง เป็นหูนี่กับหูนู่น ที่เขื่อนกั้นกันไง แต่ก่อนเป็นหมู่เดียวกันเมิดแน่ะ แต่เค้าเพิ่งจะแยกหมู่ ที่เคยบอกไว้
ทีมงาน : แล้วตรงเขตหมู่นี้มีผลกระทบอะไรบ้างครับ
พี่กิ่ง : ก็มีที่นาเสียหาย ที่ทำเรื่องไปประมาณสี่ห้าร้อยไร่ ท่วมที่นาที่สวน
เค้าจะทำร่วมกันเป็นที่สวนละมุด
ทีมงาน : ตรงนี้มันเกี่ยวกับทางเขื่อนปล่อยนํ้าที่ล้นมาด้วยใช่ไหมครับ
พี่กิ่ง : ข้างบนนี้มันเกี่ยวกับฝน ฝนตกมาก ตั้งแต่เกิดมาก็เพิ่งเคยเห็นถามคนที่อายุเจ็ดสิบแปดสิบเค้าก็ยังไม่เคยเห็นนะ เค้าว่าในรอบร้อยปีน่ะเพราะว่ามันผิดปกติแล้ว อย่างนํ้ามันมากจริงอยู่ ครู่เดียวมันก็ไหลระบายลงไปทัน นี่ฝนมันตกต่อเนื่อง
ทีมงาน : ที่ตรงบริเวณภูเขาโดนนํ้าหลากหรือเปล่าครับ
พี่จันทร์ : ตรงวัดโดน มีกำแพงวัดพังอยู่ ตรงวัดเขาพญาปราบ แล้วก็มีบ้านหลังหนึ่งตรงทางขึ้นไปอบต. บ้านพังไปแถบหนึ่ง สะพานตรงอบต.ก็ทางขาดไปเลย
ทีมงาน : แล้วหมู่บ้านทางใต้นี่เป็นอย่างไรครับ
พี่กิ่ง : ทางบนนี่ท่วมแล้วทางใต้มันต่ำกว่ามันก็จะไปรวมอยู่ทางใต้ คิดดูช่วงข้างบนนี่ เขาพญาปราบนี่นํ้ามันจะลงมาจากเขานี่ เหมือนหลังคาบ้านนี่คิดดูฝนตกลงมาแรงๆ นี่ นํ้ามันจะลงมาอย่างแรงนะ แล้วนี่เขาตั้งกี่พันไร่ มันลงมา แล้วกว่าจะลงไปทางใต้ ฝนมันก็ตกกินพื้นที่กว้างใช่ไหมล่ะ มันก็ไปลงไปรวม ยิ่งทางใต้สุดยิ่งท่วมมาก
ทีมงาน : ทางอำเภอ ทางเขต ทางการนี่มาช่วยส่วนไหนบ้างครับ
พี่กิ่ง : ก็ช่วยแบบว่า ที่ว่านํ้าท่วม ก็ช่วยแบบที่ออกข่าว สมัยก่อนถ้านํ้าท่วมมันก็ได้น้อยเนาะ ได้ไร่ละประมาณหกร้อย แต่ปีนี้เค้าจะเพิ่มให้ แต่ก็ยังไม่รู้ว่าจะได้เท่าไหร่ เพราะว่าเงินยังไม่ตกมา ทำเรื่องไปแล้ว สำรวจไปแล้วอย่างนํ้าท่วมฉับพลันนี่เค้าก็จ่ายมาแล้ว หลังละห้าพัน
ทีมงาน : แล้วชาวบ้านเป็นอย่างไรบ้างครับ
พี่กิ่ง : ชาวบ้านก็เครียด บางเจ้าว่าที่นาไม่เหลือสักแปลงเลย เพราะว่าชาวไร่ชาวนาเนาะไม่มีรายได้อย่างอื่น พอไม่มีตรงนี้แล้วก็ไม่รู้จะเอาอะไรมาดำเนินชีวิตต่อใช่ไหมล่ะ พอไม่มีรายได้
ทีมงาน : ทางชาวบ้านได้เข้ามาเรียกร้อง ทำเรื่องขออะไรจากทางการบ้างไหมครับ
พี่กิ่ง : พวกผมนี่แหละสำรวจให้ชาวบ้าน ก็วิ่งทำเรื่องหลายวันอยู่ ส่งให้อบต. อบต.ส่งให้ทางอำเภอ อำเภอส่งให้จังหวัด ของบต่อมันเป็นทอดๆ ไปไงล่ะ
ทีมงาน : พื้นที่ที่นาในเขตหมู่บ้านเขาพญาปราบ พื้นที่ส่วนใหญ่ก็คือโดนนํ้าท่วมหมดเลยใช่ไหมครับ
พี่กิ่ง : มันเป็นฝั่งนี้ที่โดนนํ้าท่วมฝั่งด้านนี้ (ด้านตรงข้ามภูเขา) ด้านใต้อ่างลำสำลาย ตรงบ้านพระบึง บ้านกลางก็ท่วมหมดเลย เพราะว่าเขื่อนลำพระเพลิงปล่อยนํ้าลงมาแรง ถนนขาดไปเลย ตามลำห้วยธรรมชาติที่เค้าปล่อยนํ้าลงมา อย่างสวนละมุดผมนี่ท่วมอยู่เดือนหนึ่งนะ
ทีมงาน : แล้วช่วงระหว่างที่นํ้าท่วมนี่ทางการมีมาช่วยบ้างไหมครับ
พี่กิ่ง : ก็มีถุงยังชีพ มีบ้างไม่มีบ้าง แต่แล้วแต่หมู่บ้านเค้าจะประสานงานไปขอผู้รับผิดชอบเอาของมาแจก แล้วแต่ผู้นำหมู่บ้านจะมีพาวเวอร์ ถ้าไม่มีก็คือไม่ได้ของมาแจก เค้าไม่รู้หรอกว่าพื้นที่ในอำเภอปักนี่ตรงไหนที่มันเดือดร้อน มีเขตไหนหมู่บ้านไหนเค้าไม่รู้หรอก ถ้าผู้นำไม่แจ้งไป มันก็ไม่ได้ช่วยเหลือเสมอภาคกันหรอก อย่างหัวเขานี่ก็ว่าผู้นำโหล่ยโท่ย (หัวเราะ) ถุงยังชีพชาวบ้านก็ไม่ค่อยได้กัน แต่ที่เค้าอยู่ข้างบนๆ โน่นบ้านเค้าก็ไม่ได้ท่วมอะไรเค้าก็ยังได้ มันอยู่ที่ผู้นำประสานงานไปอำเภอ ถ้าประสานไป อย่างพวกบานประตูเค้าก็มาแจกให้หมด แล้วแต่ผู้นำ ถ้าผู้นำไม่ทำก็จบ
วันจันทร์ที่ 5 เดือนกรกฎาคม ปีพ.ศ. 2553
หมู่บ้านเขาพญาปราบ บริเวณวัดเขาพญาปราบ
หลวงพ่อบุญมี ธรรมวิทโย เจ้าอาวาส วัดเขาพระยาปราบ
พระพุทธเจ้าท่านก็สอนไว้แล้ว พิจารณาร่างกาย ให้มีสติ พิจารณาผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เอ็น เส้น กระดูก ไม่ใช่ของเรา ซักวันเราต้องสลายไป ถ้าจริงๆ แล้วนำไปวิเคราะห์ดีๆ ก็จริง จากผมดำกลายเป็นผมหงอก จากตาดีๆ กลายเป็นฝ้าฟาง จากฟันขาวใสสะอาดกลับหลุดล่วง หนังที่เต่งตึง ก็เหี่ยวย่น มีข้าวปลาอาหารไปหล่อเลี้ยงร่างกายก็เคลื่อนไหว เมื่อวิญญาณไม่เจ็บปวดเราก็ยังอยู่ได้ รูปก็ยังเดินได้ นามก็ไปด้วยคือวิญญาณ ศาสนาพุทธสอนง่ายๆ อยู่ในตัวเราหมดเลย ธรรมชาติ
วันอังคารที่ 30 พฤศจิกายน ปีพ.ศ. 2553
เขาพญาปราบ
เต้ จิรัสย์ รัฐวงศ์จิรกุล
หลังจากทานข้าวกลางวันเสร็จ พวกเรา (เต้และพี่กิจ) ก็ออกเดินทางไปยังเขาพญาปราบ โดยได้นัดแนะกับพี่ยามที่ป้อมด้านหน้าทางเข้า หลังจากนั้นก็ออกเดินทางโดยรถมอเตอร์ไซต์เพียง2คัน มีพี่ยามนำหน้าและพวกเราตามหลัง จุดที่พี่ยามพาพวกเราขึ้นนั้นไม่ใช่ทางโรงเรียนลำพระเพลิง แต่ขึ้นทางด้านวัดพญาปราบแทน ซึ่งเป็นด้านที่ชาวบ้านใช้สำหรับขึ้นไปหาหน่อไม้และเจองูยักษ์ตามในตำนานที่เล่าต่อๆกันมาอีกด้วย สาเหตุที่พี่ยามพาขึ้นทางนี้นั้นเนื่องจากพี่ยามเคยใช้เพื่อขึ้นไปสำรวจบนเขาลูกนี้เมื่อประมาณ 4-5 ปีที่แล้ว สมัยที่พึ่งเข้ามาทำงานให้จิมทอมป์สันใหม่ๆ (พวกเราจึงเดินหลงวนไปมาประมาณ 3-4 รอบบริเวณทางขึ้นกว่าจะหาทางขึ้นเขาได้)
50 เมตรแรกที่เดินขึ้นไปนั้น ทางค่อนข้างชันและเป็นป่ารก พี่ยามต้องหากิ่งไม้เพื่อคอยแหวกหญ้าและสิ่งกีดขวางให้พ้นทาง เพื่อให้เดินได้สะดวก เมื่อเดินขึ้นมาถึงจุดหนึ่งและมองหันหลังกลับไป เราก็เห็นสภาพภูมิทัศน์ด้านล่างอันกว้างไกลและสวยงาม เรายืนดูกันอยู่ครู่หนึ่ง พี่ยามจึงเอ่ยถามขึ้นมาว่า “จะขึ้นไปอีกรึเปล่าแต่ทางข้างบนจะขึ้นยากซักหน่อยนะ” ตอนแรกพี่กิจคิดว่าขึ้นมาแค่นี้ก็น่าจะพอ และพี่กิจไม่อยากรบกวนพี่ยามด้วย แต่พี่ยามก็บอกว่าจะลองขึ้นไปอีกหน่อยมั้ย เพราะข้างบนมีเสาส่งสัญญาณที่โรงเรียนลำพระเพลิงเคยมาตั้งไว้ เพื่อใช้สำหรับส่งสัญญาณคลื่นวิทยุต่างๆ พอได้ยินดังนั้น พี่กิจจึงเกิดความคิดว่าอยากขึ้นไปต่อ การเดินทางของพวกเราสามคนจึงดำเนินต่อไป
100 เมตรที่สองนั้น ทางเป็นหญ้ารกและสูงขึ้นมาประมาณเมตรกว่าๆ (สูงเลยเอว) ระยะทางตรงนี้เริ่มชันและไม่มีเส้นทางที่ผู้คนเคยเดิน (เอาเข้าจริงๆ เรากลับคิดว่าเคยมีแต่โดนหญ้ากลบทับไปหมดแล้ว เพราะระหว่างทางที่เดินจะสังเกตุเห็นส่วนที่เป็นต้นหญ้าล้มลงไปจนเห็นพื้นดินลากยาวเป็นทาง) การเดินค่อนข้างลำบาก เพราะนอกจากทางจะชันแล้ว พื้นยังมีกรวดหินที่ทำให้ลื่นได้ตลอดเวลา และเมื่อเดินบนหญ้าที่รกๆอย่างนี้ สิ่งที่น่ากลัวที่สุดเลยก็คืองู เพราะเราไม่สามารถมองเห็นทางที่เดินได้ชัด จึงไม่รู้ว่าเราจะเดินไปเหยียบเจ้าสัตว์ชนิดนี้เมื่อไหร่ ซึ่งถ้าเหยียบเจอคงจะไม่ดีแน่ แต่ยังดี ที่พี่ยามที่เดินนำหน้าคอยเอาไม้แหวกๆ และตีๆรอบๆก่อนเดิน
100 เมตรสุดท้าย เป็นร้อยเมตรที่ขึ้นยากที่สุด เพราะตลอดเส้นทางเป็นป่าไผ่ โดยมีใบไผ่ปกคลุมพื้นดินตลอดเส้นทางที่เดิน (คล้ายกับหิมะปกคลุมแต่เป็นใบไผ่แทน) ซึ่งทำให้เดินได้ยากและลื่นมาก แถมยังมีต้นไผ่ที่เป็นกอๆแตกหน่อ รกรุงรัง เป็นอุปสรรคต่อการเดินเพิ่มขึ้นไปอีก (ชั้นนี้ทั้งเต้และพี่กิจโดนกิ่งไม้ข่วนเป็นรอยตามตัวเยอะมาก เพราะไม่ได้เตรียมตัวมาสำหรับเดินป่าเช่นนี้ พวกเราใส่ขาสั้นและรองเท้าแตะกันขึ้นมา) พอขึ้นไปเรื่อยๆ จนเกือบจะถึงชั้นบนสุด เราก็เจอกับอุปสรรคสุดท้าย เป็นกลุ่มก้อนหินขนาดใหญ่ขวางทางขึ้นอยู่ พวกเราจึงต้องปีนและเดินลัดเลาะก้อนหิน จึงจะสามารถผ่านไปได้ ลักษณะของก้อนหินนั้น เป็นหินที่สูงประมาณเมตรกว่าๆและถูกปกคลุมไปด้วยใบไผ่สีเหลือง มีซอกเล็กซอกน้อย มากมาย เราจึงต้องคอยจับส่วนต่างๆของก้อนหิน เพื่อช่วยพยุงตัวเองขึ้นไป และระหว่างที่ปีนเราก็ต้องคอยระวังตามซอกหินที่เราจะไปจับและทางที่จะเดินเป็นพิเศษ เพราะนอกจากกันลื่นแล้ว สิ่งที่พี่ยามเคยบอกไว้แต่แรกคือที่ที่งูชอบอยู่เป็นรังมากที่สุดก็คือตามซอกตามโขดหินในป่าไผ่เช่นนี้ เราจึงต้องคอยมองรอบๆตัวให้ดี เมื่อพวกเราปีนข้ามพ้นกองหินขนาดใหญ่พวกนี้ได้แล้ว เราก็มาถึงจุดสูงที่สุดของภูเขาลูกนี้ ปรากฏว่าเสาส่งสัญญาณที่บอกไว้นั้นได้หายไปแล้ว ซึ่งพี่ยามคิดว่าทางโรงเรียนคงมารื้อถอนออกไป แต่หลังจากที่เราขึ้นกันมาด้วยความเหน็ดเหนื่อยและยากลำบาก สิ่งที่เราต้องการและอยากเห็นคงไม่ใช่เสาสัญญาณแค่เพียงต้นเดียว เพราะมุมที่พวกเรามองจากด้านบนลงมานั้น สวยงามและตระการตาเป็นที่สุด สามารถมองเห็นได้สุดลูกหูลูกตา อากาศที่เย็นสดชื่นและลมที่พัดผ่าน สิ่งเหล่านี้ทำให้พวกเราลืมทุกสิ่งทุกอย่างที่บ่นมาทั้งหมดเป็นปลิดทิ้ง
หลังจากพักชมวิวกันได้ซักพัก พวกเราก็พากันลงจากเขา โดยทางที่เราใช้ลงคราวนี้ไม่ใช่ทางเดิม แต่เลือกใช้เส้นทางของโรงเรียนลำพระเพลิงแทน ซึ่งจุดที่ลงจากยอดเขาเพื่อไปบรรจบกับเส้นทางของโรงเรียน คือจุดตัวหนังสือสีขาวที่พวกเด็กนักเรียนใช้ขึ้นมากัน พวกเราเดินลัดเลาะไปอีกด้านหนึ่งของยอดเขา เพื่อหาช่องทางลง ระหว่างทางก็เจอจีวรพระผูกติดอยู่กับกิ่งไม้ พี่กิจรู้สึกถูกใจมากจึงเข้าไปถ่ายรูปไว้ แต่เต้เกิดความสงสัยจึงถามพี่ยามว่าสิ่งที่เราเห็นมันคืออะไร และมาอยู่ตรงนี้ได้อย่างไร พี่ยามก็บอกว่าน่าจะเป็นจีวรพระ แต่ไม่รู้เหมือนกันว่ามาอยู่ตรงนี้ได้อย่างไร หลังจากนั้นเราก็เดินหลงวนอยู่รอบๆจีวรพระ ประมาณสองถึงสามรอบ พี่ยามก็หาช่องที่จะใช้ลงไปยังจุดตัวหนังสือสีขาวได้สำเร็จ พวกเราจึงยกขบวนเดินลงไปกัน ผ่านกอไม้กอไผ่ และก็ไปโผล่ที่ทุ่งดอกหญ้า ที่ซึ่งตอนนี้กำลังเหลืองอร่ามได้ที่ แลดูสวยงามเหมือนดังภาพวาดของ แวนโก๊ะมาก ระหว่างที่เดินกินลมชมวิวและถ่ายรูปกันซักพัก เราก็มาถึงโซนที่เป็นป่าที่เดินค่อนข้างลำบากอีกครั้ง และระหว่างที่เดินนั้นก็มีกิ่งไม้ตวัดมาเกี่ยวตาเต้ ทำเอาคอนแท็กเลนส์หลุดหายไปข้างนึง เส้นทางที่ลงหลังจากนี้จึงยากลำบากมากขึ้นไปอีกสำหรับเต้ เพราะตาข้างหนึ่งที่ชัด ในขณะที่ข้างหนึ่งเบลอ จะทำให้เราไม่สามารถมองเห็นทางได้ จนแทบจะกลายเป็นเบลอทั้งสองข้างไปเลย ช่วงขาลงที่เดินต่อ จึงกลายเป็นว่าเต้ลื่นล้มบ่อยมาก ช่วงสุดท้ายก่อนจะพ้นออกจากป่า พวกเราก็ได้ยินเสียงเด็กๆที่ดังมาจากทางโรงเรียนลำพระเพลิง เราจึงคิดว่าน่าจะใกล้ถึงปากทางขึ้นแล้วแน่นอน เราจึงเร่งเดินกันอย่างทุลักทุเล ฝ่ากิ่งไม้กิ่งไผ่ มีเกร็ดไม้ติดตามตัวตามเสื้อผ้ากันเยอะมาก ในที่สุดพวกเราก็มาถึงปากทางขึ้นเขาพญาปราบจนได้ แต่ทางที่มาถึงกลับไม่ใช่ทางขึ้นฝั่งโรงเรียนลำพระเพลิงแต่เป็นทางฝั่งวัดพญาปราบ ที่พวกเราใช้สำหรับเดินขึ้นมาตั้งแต่ตอนแรกเช่นเดิม เราจึงไม่แน่ใจว่าทางที่เราใช้ลงเขาครั้งนี้นั้นจะใช่ทางเดียวกับทางฝั่งโรงเรียนลำพระเพลิงรึเปล่า
หลังจากที่เราขอบคุณพี่ยามกับทิปฝ่าดงสุดโหดครั้งนี้แล้ว พวกเราก็พากันขับมอเตอร์ไซร์กลับเข้าที่พักของตัวเองและแยกย้ายกันไปทำธุระส่วนตัวกัน ส่วนพี่ยามก็ขอตัวกลับบ้านก่อนเวลาปกติเช่นกัน
2010
There used to be something up there on the mountain,
Sacred spirits of the ancient time,
Footprints of Lord Buddha,
The legend of a warrior who conquered
A hidden city of glory
of which old men had always been in awe
Few days ago, young people came from the city
They knocked from door to door to seek a long gone story
They asked for permission to record picture and sound while they interviewed
People recalled their memories. The stories they’d been told
Some suggested them to ask the old men of the village.
Many firmly believed that there was something sacred up there.
Some said it was just a tale from the past
before there was any village leader, before any election took place,
before the night was brightened with fluorescent lights,
before time
Today I read all that information
It was sent in an email
Reading it, I feel amused when imagining my friend going out to talk with the villagers
Hours of reading. The villagers become clearer in my mind
I open Google to search for more. I’ve got a bit more information
That village is not so different from my hometown
That thought makes me feel uneasy
It makes me sink to the past when I was young
The school buildings were just built
We were in grade 4, on the third floor, higher than anyone
Up there, everything totally changed
Mountains, forest, those villages were down there
Unknown, mysterious, inviting exploration
My friends and I sat there
Sat right there everyday, dreaming, promising each other to go out and explore it all one day
Just like my friends
I came to the city to reach for dreams
Career, money, fame and others
Settling down
Building life’s pattern
Clothes, food, what to spend for, where to hang out
To look good in public and look cool on the network
Creating a self, uploading every experience
Updating every status of life but holding onto privacy
Refusing to let people mess around with my life
Because I’d already found my ‘self’ from a magazine
especially in the quiz ‘What kind of person are you?’
that I had made crosses on my answers to those questions
With the art of revealing here and concealing there
I should have been living a smooth life
Till one day, I realized that I too often forced my laughter, chatted unwillingly, and smiled dryly.
I did not want to be nobody in the big city
But too tired to be somebody
Realized that the identity that we try to build would never be finished
Today, I come back to my hometown again
having understood something
That school building isn’t so high, the mountain is still there
Only the reservoir is built after a landslide buried the village
Things have changed
There is a coffee shop selling cappucino
where I sit and read my friend’s collected data when he went out to talk with the villagers
It’s so funny to know my friend did such an unfashionable thing
Like a student doing a dissertation… an artist who acts like a scholar
But after reading for a while, other meanings appear
A memory, or something
we used to have, we used to know, we used to touch, we used to believe
But we don’t when it’s gone
The mountain is still there,
Nothing seems mysterious
Google Earth, GPS will shed light on every spot on earth
Photos from satellite with 1,000 times magnification
Through Webcam, we watch the whole world moving live in real time
The mysterious city becomes Unseen Thailand
Folklores and legends turn into only tales
Local culture becomes resources for researcher and tourism
Hidden land lost
Hidden agenda appear in radio wave, wires, tubes, air, and space
Broadcast to be known, seen, read, heard, entertaining
Satellite dishes bloom in the countryside fields. Every village is on the road to development
People sell their lands to send their kids to school
Young people move to the city, study for diplomas and degrees. and become a factory’s P.C. sale and PR
Old people watch televisions, following every minute of the brewing of political tension
Every single piece of land is owned
No more empty space nor wild forest
Mysterious city or even heaven float away
Only the reality of Hollywood illusions is left
In the lost soul era
This morning I ride to the mountain
Get closest to it by a soil road
On foot up the steep mountain. Sweaty back
I tell myself ‘Here, this is what you’ve promised’
Then I look at the sky that starts to darken
Music screams from the top of the mountain
I can’t catch any words
Except….Chi mi… chi..mi
At the front is the mountain
The mountain is still there
Something was there
disappeared from memory
disappeared from the present
something was there …and we all know
Earth
Friday, June 11, 2010
Takob Village, at front yard of barber’s.
Barber: That area is called Jao khao Praya prab. (“Jao” in this context means the spirit that protects a certain area.) As one. There’s a spirit that protect big people there, they call it Por Yai Luang Tid. Khun Wang Kao is called Khun Kao Khun Kae ( “Khun” is the title used to refer to noblemen in the Ayutthaya period). If he’s a really important man he will be called Khun Sathan Luang Rat. That’s how it was told. And what we’ve read is Por Yai Luang Ram Khun Luang Ram’s version. Ummm…read it …read it. It’s an ancient but before that they called Kao Lub Lae. (“Lub Lae” is legendary town which can be found by chance; hidden city)
Friday, June 11, 2010
Jim Thompson Farm. Flora house,
Jim Thompson officers
Female officer: They have contact with ancient people. It runs in their blood. And if the channel is opened he will come to in our dreams and tell us where to get the old stuff. But only the one who is selected. The others have to wait outside.
Staff: The cave is at………
Female officer: Khao Praya prab
Staff: But not at the top?
Female officer: This one is the lower cave.
Staff: 2 caves?
Female officer: The other one is up the hill. It’s the same system, they have a time when it's open and a time when it's closed.
Staff: That means the time he allows people to go inside?
Female officer: Right. Just like his family, it runs in the family.
Staff: I’ve just spoken with another officer, he said there are diamonds and jewels inside.
Female officer: That's what's been said. People will take them to dress up when there are festivals.(The other female officer adds that this happens during the Songkran beauty pageant, but you have to return them afterwards).
Staff: You have to give them back after use.
Female officer: If you doesn’t give them back in time, the cave will close forever. But if it is open you can get through. There will be a small hole you can crawl through at first and then you'll be able to walk later in the lower part of mountain. That’s it. It's a strange, secret hole. And there will be a tree, a big tree as a sign. They will know among their family.
Staff: Have you heard the old tale that there’s a Praya? Why is the mountain called Prayaprab? (Praya = title & position of noblemen in Ayodhaya regime)
Female officer: Was it in a legend that he won a war? I read that there were thieves who stole cows and buffalos from the merchants in this area long time ago. They were infamous and no one could catch them but the Praya came here to fight them and chased them up the mountain. That’s how it got it's name. As for the mystery of the cave... I don’t know does it still exist or not? They've talked about..ah.. the breast stone do you know about that? (asks another officer) The breast stone is an old thing that was in his house, but I don’t know if it still there?
Staff: An old thing that was in his house?
Female officer: That’s right. He brought it from the cave.
Male officer: It’s a mystery for those who love these kinds of stories.
Female officer: Oh yes.
Male officer: Up to you but I have no comment.
Staff: Can we still climb up Khao Prayaprab?
Male officer: Sure. The cave is still there.
Staff: Are the temple right? How do people get up there?
Male officer: Just by walking normally.
Staff: Can we go up there from the farm?
Male officer: Yes.
Male officer: It’s a normal pathway to the mountain. Anywhere you go there is a way to get there.
Staff: Will it reach the temple?
Male officer: The temple is on the other side.
Female officer: That’s the new one. If it is in the Sanka area, it is the old one.
Male officer: That’s where we see the pagoda up there?
Female officer: Right. That’s the old temple with the entrance to Hua Khoa village. The village is at the foothill and the temple is up the hill. It's written “Ban Khao Prayaprab.” That’s the entrance.
Staff: Would it be dangerous?
Female officer: I’ve never heard of any fierce animals, only monkeys. There’s a herd of about a hundred of them. That’s all.
Staff: They won’t annoy people?
Female officer: Sometimes they come down (Loud noise) But they’re not fierce (laugh) now it’s not a big herd. A few years ago it there were hundreds. The chief of the herd was very big (another woman adds: it had fangs and with this herd if the chief didn’t lead them they wouldn’t come). They would come to drink water at the pond. When they went back, the chief would stomp on the ground Tumm Tumm Tumm then the herd would gradually move back towards the forest. But the chief won’t leave until the smallest ones leave safely.
Staff: You have said this area is an old city.
Male officer: I wouldn’t say it’s an old city. But they call it a cultural route; along Lam Pra Ploeng river. People have lived along this river since the war…
Staff: The World War?
Male officer: No. Before that. Since the time the Ayodhaya regime went to war with Laos. The villages in this area got their pattern of houses from the central part of country. The E-san houses that you see were built 100 years ago and the craftsmen were from the centre.
Staff: Are there any house like this in the villages?
Male officer: You can find them easily on the way from Lam Pra Ploeng Dam to Ban Nok Ork to Ban Sra Noi, Ban Plub pla in Chok Chai distric. That’s the cultural route. People from Bangkok who are Mon have been here since the Ayutthaya regime.
Female officer: All the people in Pra Ploeng village are Mon (Mon Nationality lived in Burma and in Thailand).
Staff: That was an oppressive era, as was the World War 2 era.
Male officer: I used to read about Koraj's history. It has been said that the Koraj people are from Loa and Chabon at Ban Klang, the one that can get into the cave. I can’t understand Chabon language.
Staff: Which races?
Male officer: They live in this area.
Female officer: Chabon is Chabon.
Male officer: There are Laos, Mon, Chabon, and Koraj (Nakorn Ratchasima people). Koraj people are from Phimai (Phimai is a township in the Nakhon Ratchasima Province) back from the Ya Mo period (Thao Suranari or Lady Mo, a now people from Nakorn Ratchasima called Ya Mo or Grandma Mo, who was the wife of the deputy governor of Nakorn Ratchasima, the HYPERLINK "http://en.wikipedia.org/wiki/Stronghold"stronghold for Siamese control over its HYPERLINK "http://en.wikipedia.org/wiki/Laos"Laotian HYPERLINK "http://en.wikipedia.org/wiki/Vassal"vassals, at the time of the HYPERLINK "http://en.wikipedia.org/wiki/Vientiane"Vientiane King HYPERLINK "http://en.wikipedia.org/wiki/Anouvong"Anouvong's attack on Korat in HYPERLINK "http://en.wikipedia.org/wiki/1826"1826, Thao Suranaree is a sacred and precious spirit of Nakhonratchasima).
Staff: They say there are Buddha’s footprints on Prayaprab mountain.
( Someone: When I was young I heard there was a Buddha footprint festival)
Female officer: I’ve also heard about that but I’ve never been to that pagoda.
Male office: Ah… the pagoda covers the Buddha footprint? I never knew about that.
Staff: I’m researching about any history, culture, legends and mysteries of the region, if there are any... but you don't believe in anything magical right?
Male officer: I’m from the new generation so I’m not….well…it’s not that I don't believe at all, let's say that I just listen. I only think about the present and I go to pay respect for the monks.
Staff: It’s like the old generation have heard these stories from their ancestors.
Female officer: A granny said she once went to the cave to take the jewels when she was young to dressed up with them – and then she kept them. Her name is Mae Yai Noi, her house is in front of the temple.
Male officer: Is she the great-grandmother of Noi?
Female officer: Wan. She said she brought them to dress up for the Songkran festival with her friend “Mae Yai Mhoo,” who has already died. She said that when she was young they dressed up with those jewels but after the Songkran festival they kept it. Time flows, people have stronger minds (laugh)
Male officer: That cheater.
Female officer: Oh.. when you want it you take it but when it's not returned the cave is closed. Otherwise we could've had the chance to see them. (laugh) There are still many old people in Klang village.
Male officer: Most of us have heard these stories but we never really know the truth. You have to ask the old people.